วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนะนำ antivirus ที่ ฟรี และ ดี!! avast

วันนี้ขอนอกเรื่องจากประเด็นการถอดแบบประมาณราคาสักหน่อย จะขอแนะนำโปรแกรม AntiVirus ที่ใช้งานดี และที่สำคัญ ฟรี!!  ฟรีในที่นี้ คือฟรี แบบถูกลิขสิทธิ์ และยังสามารถอัพเดท virus database ได้ทุกครั้งที่เราต่อ internet และอีกฟังก์ชั่นดี ๆ ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยเชียว ก็คือ avast สามารถ boot time scan ได้ หมายถึงการ scan ตอนที่กำลังบูทวินโดวส์ซึ่งการ scan ในสภาวะก่อนการเข้าสู่ windows จะทำให้การลบ virus ทำได้ดีกว่า เนื่องจาก virus จะยังไม่เริ่มทำงาน

โปรแกรมดี ๆ นี้ มีชื่อว่า Avast จากเมื่อก่อนยอดดาวน์โหลดในเว็บดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ชื่อดัง www.CNET.com จะตามหลัง avg อยู่ แต่ตอนนี้ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 เรียบร้อยแล้ว 


สามารถดาวน์โหลด avast ได้ จากเว็บ cnet ตามลิงค์ด้านบน หรือ www.avast.com ซึ่งตอนที่เราดาวน์โหลด จะมีถามว่าต้องการรุ่นใด ก็เลือกดาวน์โหลดจาก Free Antivirus หรือถ้าใครต้องการรุ่น pro หรือ internet security ก็ดาวน์โหลดได้ แต่เสียเงินนะคะ


พอเรากดดาวน์โหลดแล้ว จะมีหน้าต่างมาถามเราอีกครั้ง ว่าต้องการ upgrade ไหม ถ้าต้องการ version ฟรี ก็ตอบ No thanks, I want free protection.


จากนั้นก็ดาวน์โหลด และติดตั้ง หลังจากติดตั้งเสร็จ ก็ลงทะเบียนด้วย Email จริง   จะสามารถใช้งานได้ 365 วัน ซึ่งถ้าหมดอายุก็ต่อได้ฟรีเช่นกันค่ะ (ถ้าไม่ลงทะเบียนจะใช้ได้แค่ 7 วันนะคะ)



ส่วนของ boot time scan เมื่อเราติดตั้งเสร็จแล้ว จะแสกนสักรอบก็น่าจะดีค่ะ โดยเปิดโปรแกรม และไปที่ SCAN COMPUTER > Boot time scan และกดปุ่ม Schedule Now หมายถึง เราต้องค่าไว้ เมื่อเราเปิดเครื่องครั้งต่อไป จะทำการ scan ให้ค่ะ



วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การถอดแบบและประมาณราคาโครงหลังคาเหล็กทรงปั้นหยา ด้วย PEstimateCAD

ในการถอดแบบและประมาณราคางานอาคาร ส่วนหนึ่งของงานที่ถือได้ว่ายุ่งยากซับซ้อนก็คืองานโครงหลังคา โดยเฉพาะหลังคาทรงปั้นหยา ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามเหลี่ยมมุมต่าง ๆ ได้


โปรแกรม PEstimate สามารถช่วยในการถอดแบบโครงหลังคาโดยคำนวณจากองศาของหลังคา รวมไปถึงประมาณราคาจากสูตร BOM ที่คัดลอกมาปรับแก้ให้ตรงกับลักษณะของเหล็กที่ใช้ เช่น ต้นแบบเดิมในโปรแกรม มีสูตร BOM เหล็ก C100x50x20x2.3  อยู่แล้ว สามารถคัดลอกมาแล้วแก้ไขให้ตรงกับที่เราต้องการได้อย่างง่ายดาย วีดีโอนี้ จะแสดงขั้นตอนการทำงานตั้งแต่การเริ่มถอดแบบจนถึงออก BOQ ในเวลาไม่ถึง 20 นาที


หมายเหตุ ราคาวัสดุที่ใช้ ดึงมาได้จากกระทรวงพาณิชย์ ส่วนค่าแรงใช้ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ซึ่งตรงตามมาตรฐานราชการใช้งานกันในปัจจุบัน

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แก้ปัญหา autocad เปิดไฟล์ไม่ได้ บันทีกไม่ได้

วันนี้ขอพูดถึงปัญหาที่พบกันบ่อยสำหรับผู้ใช้งาน AutoCAD ก็คือปัญหาที่โปรแกรมไม่แสดง Dialog และไม่ว่าเราจะกดอะไร ก็จะให้พิมพ์คำสั่งที่ Command Line ด้านล่างซะหมด ดังรูปด้านล่าง คือการกดปุ่ม Open เพื่อเปิดไฟล์ ซึ่งปกติจะต้องมี Dialog ปรากฎขึ้นมาให้เราเลือกไฟล์ แต่กรณีในรูป จะเป็นการขึ้น Command Line  ว่า Enter name of drawing to open. ซึ่งหมายถึงโปรแรกมจะให้เราพิมพ์ชื่อไฟล์ที่เราต้องการเปิดนั่นเอง


ซึ่งปัญหานี้ จะไม่ได้เกิดเฉพาะการเปิดไฟล์ แต่จะเกิดทุก ๆ การเรียก Dialog ไม่ว่าจะ New, Open, Save นั่นเป็นเพราะว่า AutoCAD มีโหมดสำหรับการใช้แค่ Command อย่างเดียวนั่นเอง

วิธีการแก้ไข
ที่ Command Line ด้านล่าง พิมพ์ filedia แล้วกด Enter
พิมพ์ 1 กด Enter

เท่านี้ โหมดการสั่งงานใน AutoCAD ก็จะกลับมาเป็น Dialog เหมือนเดิม


วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การถอดแบบและประมาณราคาคานโครงสร้างจากแบบ CAD โดย PEstimateCAD




จากวีดีโอด้านบน เป็นการแสดงขั้นตอนการทำงานของ PEstimateCAD เพื่อการถอดแบบคานโครงสร้าง

จะเห็นว่า PEstimate สามารถช่วยในขั้นตอนการถอดแบบที่ทำให้ลดความผิดพลาดลง และสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น รวมไปถึงการประมาณราคาที่ถูกต้องแม่นยำ และสูตรที่จะเป็นมาตรฐานสำหรับการประมาณราคาในครั้งต่อไป


วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

PESTIMATE กับการประมาณราคางานถนนคสล.กว้าง 6 ม.

เนื่องจาก PESTIMATE เป็นโปรแกรมประมาณราคาที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถสร้างสูตรคำนวณต่าง ๆ (BOM) ได้เอง จึงสามารถประยุกต์ใช้ได้ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่ความต้องการใช้งานในแต่ละบุคคล สำหรับโพสต์นี้ จะเป็น BOM สำหรับงานทาง ซึ่งเหมาะกับผู้รับเหมา และหน่วยงานราชการที่ต้องการจัดทำราคากลาง และฟีเจอร์ใหม่ของ PESTIMATE CAD ที่สามารถดึงข้อมูลจาก Google Earth มาใช้เพื่อทำการ Digitizer ระยะออกมา จากตัวอย่างนี้ จะทำการดึงข้อมูลระยะทางมาใช้

ด้วยฟีเจอร์ของ PESTIMATE เราจะสามารถเลือกตำแหน่งบนพื้นผิวโลกได้จาก Google Earth เพื่อทำสำรวจคร่าว ๆ ได้


จากนั้นจะดึงรูปมาวางใน CAD และ Digitize ตำแหน่งที่ต้องการ เช่นสีชมพูที่เห็นในรูปคือแนวถนนที่จะทำ ซึ่งจากตรงนี้ จะสามารถส่งระยะของเส้นนี้ ตาม Scale จริง ไปให้ PESTIMATE ทำการประมาณราคาได้ 
 

จะได้ระยะทางมา ดังรูป


และ BOM ดังรูป


จากรูป คือ BOM ของงานถนน คสล. ผิวจราจรกว้าง 6 เมตร (ไม่รวมงานบดอัด และงานดินเดิม)
- ผิวจราจร คสล. หนา 0.15 ม.
- ชั้นทรายหยาบ หนา 0.15 ม.
- WIRED MESH (เหล็กเชื่อมตะแกรงสำเร็จรูป) 4 มม.#0.2x0.2 ม.
- LONGITUDINAL JOINTS (รอยต่อตามยาว)  TIE BAR DB12 ยาว 0.5ม.@0.5 ม.
- CONTRACTION JOINTS (รอยต่อเพื่อการหดตัว) DOWEL BAR RB19 ยาว 0.5ม.@0.5 ม. ทำทุก ๆ 10 ม.
- EXPANSION JOINTS (รอยต่อเพื่อการขยายตัว) DOWEL BAR RB19 ยาว 0.5ม.@0.5 ม. ทำทุก ๆ 50 ม. , ท่อ PVC
- ยางมะตอย M70 สำหรับหยอดรอยต่อตาม JOINTS ต่าง ๆ 
- ไม้แบบ ไม้คร่าว ไม้ค้ำยัน ตาม BOM ของกรมบัญชีกลาง
ซึ่ง BOM นี้ ผู้ใช้สามารถแก้ได้ตามความต้องการที่ใช้งานจริงได้

เมื่อมีปริมาณงานที่ได้จาก Google Earth เป็นระยะ และคำนวณกับ BOM ใน PEstimate จะได้รายงาน BOQ ออกมาใน Excel ดังรูป



วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

การออกแบบใต้มาตรฐาน IFC เพื่อใช้สำหรับการประมาณราคา

IFC ย่อมาจาก Industry Foundation Class จัดตั้งโดยองค์กร IAI (International Alliance for Interoperability) คือองค์กรผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมก่อสร้างในสหรัฐอเมริกา และขยายไปในส่วนอื่นของโลก IFC ในการเขียนแบบ CAD สำหรับงานก่อสร้าง 3 มิติ ลักษณะของการเขียนแบบ แบบ CAD ธรรมดากับ IFC เป็นอย่างไร
ทั้งสองภาพเป็นการเขียนแบบห้องที่ประกอบด้วยกำแพงทั้ง 4 ด้าน ทางด้านซ้านจะเป็นแบบการเขียนด้วย AutoCAD 2 มิติธรรมดา จะเห็นได้ว่าการเขียนแบบจะใช้การเขียนเส้นประกอบกันทั้ง 4 ด้าน โดยที่ไม่ได้มีข้อมูลที่บอกทั้งพื้นที่ หรือองค์ประกอบของกำแพง แต่จะให้มาคือ รูปร่างของเส้นที่เป็นเส้นสี่เหลี่ยม ถ้าต้องการคำนวนพื้นที่ก็จะต้องทำเอง โดยการนำพิกัดของจุด้านใน ด้าน P2 วิ่งวงรอบใน Rect2 เพื่อให้ได้พื้นที่ด้านในของห้องออกมา ส่วนภาพด้านขวาจะเป็นการเขียนแบบโดยใช้ IFC การเขียนจะเป็นการระบุว่าเป็นการสร้างอาคารโดยมีกำแพงทั้ง 4 ด้านอันประกอบเป็นห้อง จะมีความสัมพันธ์กันระหว่างกำแพงทั้ง 4 ได้แก่ Wall ถึง Wall4 ที่ต้องสัมพันธ์กัน และมี Spacel คือพื้นที่ที่เกิดจากการปิด Wall ทั้ง 4 ด้านเข้าหากัน โดยที่ข้อมูลของพื้นที่ และลักษณะของกำแพงจะแสดงในคุณสมบัติ (Property)

ข้อสรุปการเขียนแบบโดยตาม IFC จะให้คุณสมบัติของอาคารมาด้วยมากกว่าเส้นในแบบ และสามารถจัดเก็บหรือเรียกหาข้อมูลที่ต้องการได้ ทำให้สามารถมาใช้ในการประมาณราคาได้เป็นอย่างดี แต่การเขียนแบบโดย IFC มีข้อที่ไม่สะดวกที่อาจจะมีปัญหาในบางกรณี ได้แก่ จะต้องมีวัสดุให้เลือกในการเขียนแบบ เช่น การเขียนหน้าต่างก็ต้องมีให้เลือก จะสร้างสัญญลักษณ์ก่อนก็ได้ แต่จะไม่เหมือนกับเขียนแบบ 2 มิติที่จะได้เฉพาะข้อมูลของเส้นเท่านั้น